วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

นิทรรศการ

                                                              การจัดนิทรรศการ
                                                            มาตราตัวสะกด  แม่กก


                                                               ยินดีต้อนรับค่ะ

ชื่นชมผลงาน

การนำไปใช้

                                             การนำแบบฝึกทักษะการอ่าน-เขียนภาษาไทย
                                                               ชั้นประถมศึกษาปีที่  2 
                                                          โรงเรียนแก้วอินทร์สุธาอุทิศ  
                                                  ต.เสาธงหิน    อ.บางใหญ่    จ.นนทบุรี
                                           กลุ่มตัวอย่าง :  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1   
                                                               จำนวน  30  คน



วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สร้างสรรค์งานศิลป์

นวัตกรรมการเรียนการสอน

ชุดแบบฝึกทักษะ
เรื่อง การใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรงเป็นสื่อในการวาดภาพ
จัดทำโดย...
นางสุทธินันท์ สารพันธ์
รหัสประจำตัว 53109510030 เลขที่ 30
ป.บัณฑิต (วิชาชีพครู) รุ่น 4 ไทยเข้มแข็ง

เสนอ...
ดร.ชฎาภรณ์ สงวนแก้ว




นวัตกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
วิทยาลัยราชพฤกษ์

คำนำ

การศึกษานวัตกรรม แบบฝึกทักษะทางด้านศิลปะ เรื่อง ลักษณะรูปร่าง รูปทรง ระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 นี้ ได้จัดทำขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นแบบฝึกทักษะทางด้านศิลปะและเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ ยังมีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่ดีงาม ให้กับนักเรียนในการทำแบบฝึกทักษะแต่ละชุด เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นวัตกรรม แบบฝึกทักษะทางด้านศิลปะ คงเป็นประโยชน์
ต่อครู นักเรียน ตลอดจนผู้ที่สนใจต่อไป




นางสุทธินันท์ สารพันธ์
28 มิถุนายน 2553




สารบัญ

หน้า

นวัตกรรมทางการศึกษา………………………………………………………………1
ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา………………………………………………………1
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา………………………………………1
หลักการพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาการเรียนรู้…………………3
ขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรม…………………………………………………………3
การออกแบบนวัตกรรม………………………………………………………………3
การวางแผนพัฒนานวัตกรรม…………………………………………………………….3
การทดลองใช้นวัตกรรม………………………………………………………………4
ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา………………………………………………..5
บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน……5
นวัตกรรมการเรียนการสอน (สร้างสรรค์งานศิลป์) ………………………………6
- ความเป็นมา…………………………………………………………………6
- วัตถุประสงค์……………………………………………………………………6
- ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม………………………..6
- แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรง
เป็นสื่อในการวาดภาพ………………………………………………………8
- โครงสร้างหรือขั้นตอนการใช้ (การนำนวัตกรรมไปใช้)………….…………9
- ข้อดี / ข้อเสีย……………………………………………………….………9
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม……………………………………………………………9
- แบบฝึกทักษะ เรื่อง การใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรง เป็นสื่อในการวดภาพ……10








นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรม หมายถึง เครื่องมือ สื่อ หรือ วิธีการใหม่ๆ ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่ หรือ ดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น และนำมาใช้อีก ก็ถือว่าเป็น "นวัตกรรม"

นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการกระบวนการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร

ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษา ตามลักษณะผู้ใช้ประโยชน์จำแนกได้ดังนี้
ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับครู
- คู่มือครู
- เอกสารประกอบการสอน
- ชุดการการสอน
- สื่อประสมชนิดต่างๆ
- หนังสืออ้างอิง
- เครื่องมือวัดผลประเมินผล
- อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
- โครงการ
- วิจัยในชั้นเรียน
- การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- วิธีสอนแบบต่างๆ

ประเภทนวัตกรรม/สื่อสำหรับนักเรียน
- บทเรียนสำเร็จรูป
- เอกสารประกอบการเรียน
- ชุดฝึกปฏิบัติ
- ใบงาน
- หนังสือเสริมประสบการณ์
- ชุดเพลง
- ชุดเกม
- โครงงาน


แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลง มีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา ได้ 4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้น ๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐาน นี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน

หลักการพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาการเรียนรู้
การจะพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ในวิชา หรือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ใด ๆ
ควรยึดหลักสำคัญ ดังนี้
1) ตรงกับปัญหาหรือจุดพัฒนาของวิชานั้นเพียงใด
2) มีความสอดคล้องกับธรรมชาติวิชาหรือไม่
3) สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้หรือไม่
4) มีหลักฐานน่าเชื่อถือว่าเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วหรือไม่

ขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรม
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น ( Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ ( Development) หรือขั้นการทดลอง ( Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง ( Innovation)

การออกแบบนวัตกรรม
นวัตกรรมมีความสำคัญ การพิจารณาความสำคัญของนวัตกรรม ให้ดูที่เหตุผลความจำเป็นของปัญหา ถ้ามีข้อมูลแสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความบกพร่องในจุดประสงค์การเรียนใดๆ ที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการเรียนการสอนทั้งปัจจุบัน และมีแนวโน้มเกิดขึ้นในอนาคตก็สมควรสร้างนวัตกรรมนั้นๆ ได้
ในการออกแบบนวัตกรรม ผู้ออกแบบควรกล่าวถึงส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้
1) ชื่อนวัตกรรม
2) วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกรรม
3) ทฤษฎีหลักการที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม
4) ส่วนประกอบของนวัตกรรม
5) การนำนวัตกรรมไปใช้

การวางแผนพัฒนานวัตกรรม
เป็นแนวคิดที่ผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องถามตัวเองว่า จะสร้างนวัตกรรมอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการแก้ปัญหา จะไปค้นหาแหล่งอ้างอิงที่ไหน จะต้องสร้างกี่ชิ้นกี่ประเภท ใช้เทคนิคการสร้างอะไรบ้าง จะมีแนวการใช้นวัตกรรมอย่างไร ผู้ออกแบบนวัตกรรมควรวางแผนไว้ 3 ขั้นตอน
1) ขั้นพัฒนา
ผู้ออกแบบนวัตกรรมต้องศึกษาแหล่งข้อมูลต่างๆ ของการพัฒนา คือ
- ศึกษารายการนวัตกรรม และลักษณะเฉพาะของแต่ละนวัตกรรมตัวอย่างนวัตกรรม
- ศึกษาหลักสูตรหลักการสอนรายวิชาต่างๆ เอกสารแนะนำ หลักการสอนต่าง ๆ
- ศึกษาทบทวน ทฤษฎีการสอน หลักจิตวิทยาการศึกษา
- มีความริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
2) ขั้นทดลองใช้
- หลังจากพัฒนานวัตกรรม 1 ชิ้น ผู้สอนควรนำไปทดลองสอน ระบุ ชั้น วิชา ทดสอบเก็บคะแนนและหลังการใช้นวัตกรรม
3) ขั้นประเมินผลและรายงาน
หลังจากทดลอง ผู้ออกแบบนวัตกรรมได้นำนวัตกรรมไปทดลองใช้และเก็บคะแนน วิเคราะห์ผลการทดสอบ แสดงสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง ผู้ออกแบบนวัตกรรมเขียนรายงานผลการทดลองเผยแพร่ให้ครู-อาจารย์ ทราบจะประกอบด้วย
(1) แผนการสอนที่ใช้ทดลองนวัตกรรม
(2) นวัตกรรมที่สร้าง หรือ พัฒนาขึ้น
(3) คู่มือการใช้นวัตกรรม
(4) แบบทดสอบ ก่อน-หลัง การใช้นวัตกรรม
(5) รายงานผลการทดลอง

การทดลองใช้นวัตกรรม
การทดลองใช้นวัตกรรม หมายถึง การนำนวัตกรรมที่สร้างเสร็จเรียบร้อย และมีการประเมินตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านความเหมาะสมถูกต้องทางภาษา เนื้อหา และความสะดวกหรือปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการทดลองไปใช้สอนในสภาพบรรยากาศของชั้นเรียนจริงๆ โดยผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องกำหนดรูปแบบการประเมินด้วยการระบุวัตถุประสงค์ตัวแปรที่ศึกษา (ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง เช่น ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์ หรือ เวลาที่ใช้) กลุ่มตัวอย่าง (ระบุว่าไปทดลองกับนักเรียน ระดับชั้นใด โรงเรียนไหน จำนวนเท่าใด) เครื่องมือที่ใช้วัด (ได้แก่ แบบทดสอบ แบบบันทึกการสังเกตหรือแบบสัมภาษณ์) และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลง่ายๆ (เช่นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ฯลฯ) และกำหนดแนวทาง สรุปผลการทดลองใช้
รูปแบบของการทดลอง
มีหลายรูปแบบ ในที่นี้จะนำเสนอเพียง 2 รูปแบบ เพื่อให้เกิดแนวคิด ดังนี้
- การทดลองรูปแบบที่ 1
ผู้สอนนำนวัตกรรมไปใช้ในชั้นเรียน เมื่อการสอนสิ้นสุดลง ทำการสอบ วัดเพื่อวัดผลการเรียนได้ผลหรือไม่
นวัตกรรม ------ สอบ
- การทดลองรูปแบบที่ 2
ผู้สอนทำการทดสอบก่อนนำนวัตกรรมไปใช้ เว้นช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ แล้วทำการสอน โดยใช้นวัตกรรม เมื่อการสอนสิ้นสุดลง ให้นักเรียนทำ แบบทดสอบอีกครั้ง ด้วยแบบทดสอบฉบับเดิม (หรือคู่ขนาน) แล้วเปรียบเทียบผลการทดลอง
(สอบ----นวัตกรรม-------สอบ)

ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
1) นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2) นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3) บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
4) บทเรียนน่าสนใจ
5) ลดเวลาในการสอน
6) ประหยัดค่าใช้จ่าย

ตัวอย่าง นวัตกรรมทางการศึกษา
1) การสอนแบบโปรแกรม
2) ศูนย์การเรียน
3) ชุดการเรียนการสอน
4) การเรียนการสอนแบบระบบเปิด
5) การสอนเป็นคณะ
6) บทเรียนสำเร็จรูป ยุคเดิมเป็นเอกสาร ยุคใหม่เป็น CAI
7) การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
8) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
9) การเรียนการสอนทางไกล
10) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
11) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
12) เรียนปนเล่น
13) แบบฝึกแบบปฏิบัติเฉพาะคิดหรือเฉพาะวิชา

บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ มีความ
รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจ และความต้องการของแต่ละบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความ
เปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่มการกลุ่ม
นวัตกรรมการเรียนการสอน


ชื่อนวัตกรรม : สร้างสรรค์งานศิลป์

ความเป็นมาของนวัตกรรม
การทำแบบฝึกทักษะศิลปะ เรื่อง การใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรงเป็นสื่อในการวาดภาพขึ้นมานี้ เพื่อใช้เป็นแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนแก้วอินทร์สุธาอุทิศ
โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะ กระบวนการคิด จินตนาการ ในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะให้มี
คุณค่าและเกิดความสวยงาม และเป็นการพัฒนาผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เจตพิสัย (Affective Domain) และทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เพื่อให้
ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง และผู้อื่นอย่างมีความสุข ดังนั้น วิธีการประเมินผลผู้เรียนอาจจะประเมินจากการสังเกตการณ์พัฒนาทั้ง 3 ด้าน ของผู้เรียน โดยที่ผู้ประเมินจำเป็นต้องสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้และการร่วมกิจกรรมของผู้เรียนตลอดจนทำการทดสอบ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ในด้านต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน

ในการนี้ ครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้อย่างแท้จริง

จะเห็นได้ว่า การใช้แบบฝึกมีลักษณะที่สอดคล้องกับหลักการและแนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นอย่างยิ่ง คือ มาตรา 6 กล่าวว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่ายกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ซึ่งการจัดทำแบบฝึกทักษะนี้ จะมีส่วนช่วยในการเรียนการสอน คือ ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ฝึกทักษะการคิด ฝึกการปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามให้แก่ผู้เรียน

วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกรรม
1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการสอน
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์
ต่อการศึกษา
3. เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
4. เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา
5. เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น


ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม

เรื่อง ลักษณะรูปร่าง รูปทรง

รูปร่าง (Shape) เกิดขึ้นจากการประสานสัมพันธ์ของการขีดเขียนเส้นให้เกิดเป็นรูปร่าง อาจเป็น
รูปร่างธรรมชาติ รูปร่างอิสระ หรือรูปร่างอื่น ๆ แต่ที่สำคัญจะปรากฏเป็นภาพ 2 มิติ ประกอบด้วยความกว้าง ความยาว แต่ไม่ปรากฏความหนา ในทางทัศนศิลป์ รูปร่างแต่ละชนิดจะให้ความรู้สึกกับการมองเห็นที่แตกต่างกันออกไป
1. รูปร่างธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม เป็นรูปร่างที่สามารถถ่ายทอด เลียนแบบจากธรรมชาติ หรือ
สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั่ว ๆ ไป เช่น คน สัตว์ สิ่งของ พืช เป็นต้น
2. รูปร่างแบบเรขาคณิต เป็นรูปร่างที่ที่มนุษย์เขียนขึ้น มีโครงสร้างชัดเจน และมีพื้นที่ที่แน่นอน เช่นรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม เป็นต้น
3. รูปร่างแบบอื่น ๆ เป็นรูปร่างที่สร้างขึ้นจากการสร้างสรรค์ โดยการลด ตัดทอน ต่อเติม
ให้แตกต่างไปจากความหมายหรือไม่เหมือนจริงในรูปร่างแบบนามธรรม

รูปทรง ( Form ) มีลักษณะเป็นงาน 3 มิติ ประกอบด้วย ความกว้าง ความยาว และความหนาหรือลึก กินระวางพื้นที่พื้นที่ในอากาศ เช่น วัตถุ คน สัตว์ สิ่งของ บ้านอาคาร ในทางทัศนศิลป์จะเกิดจากการเห็นภาพด้วยสายตาจากเส้นที่มีความทึบ ตัน เป็นมวล ( Mass ) และมีปริมาตร ( Volume ) อย่างเห็นได้ชัด

รูปทรงในงานศิลปะ ได้แก่
1. รูปทรงของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ได้แก่ คน พืช สัตว์
2. รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปทรงที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยเครื่องมือ โดยทำให้รูปทรงนั้นเกิดมิติ
ในทางลึกหรือดูหนาขึ้น เป็นมวล และมีปริมาตรชัด
3. รูปทรงอิสระ เป็นรูปทรงที่ไม่มีโครงสร้างชัดเจนแน่นอนเหมือนรูปทรงเรขาคณิต เช่น เมฆ หมอก ควัน น้ำตก โดยจะทำการเตรียมแผนการสอน ดังนี้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรงเป็นสื่อในการวาดภาพ

รหัสวิชา ศ ๑๓๑๐๑ ศิลปะ สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ เวลา 5 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การวาดภาพระบายสีเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้สอน นางสุทธินันท์ สารพันธ์ โรงเรียนแก้วอินทร์สุธาอุทิศ

สาระสำคัญ
รูปร่าง มีลักษณะ 2 มิติ ประกอบด้วยความกว้างและความยาว
รูปทรง มีลักษณะ 3 มิติ ประกอบด้วยความกว้าง ความยาวและความหนาหรือลึก

ตัวชี้วัดชั้นปี
บรรยายรูปร่าง รูปทรง ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์

จุดประสงค์
นักเรียนใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรงเป็นสื่อในการวาดภาพระบายสีตามความคิดสร้างสรรค์
ของตนเองได้

วิธีดำเนินการ
1. ชี้แจงจุดประสงค์ในการฝึกทักษะ
2. นักเรียนศึกษาหลักการ ทฤษฎี และตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องลักษณะรูปร่าง รูปทรง
การใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรงเป็นสื่อในการวาดภาพ
3. ครูอธิบายและสาธิตเพิ่มเติม
4. นักเรียนปฏิบัติการฝึกทักษะ ชุดที่ 1 แบบฝึกที่ 2.1 ( ใช้เวลา 1 ชั่วโมง )
5. นักเรียนปฏิบัติการฝึกทักษะ ชุดที่ 1 แบบฝึกที่ 2.2 ( ใช้เวลา 1 ชั่วโมง )
6. นักเรียนปฏิบัติการฝึกทักษะ ชุดที่ 1 แบบฝึกที่ 2.3 ( ใช้เวลา 1 ชั่วโมง )
7. นักเรียนปฏิบัติการฝึกทักษะ ชุดที่ 1 แบบฝึกที่ 2.4 ( ใช้เวลา 1 ชั่วโมง )
8. นักเรียนปฏิบัติการฝึกทักษะ ชุดที่ 1 แบบฝึกที่ 2.5 ( ใช้เวลา 1 ชั่วโมง )
เวลา
ใช้เวลาในการฝึกทักษะการวาดภาพระบายสีเชิงสร้างสรรค์ ชุดที่ 1 การใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรงเป็นสื่อในการวาดภาพ ( แบบฝึกที่ 2.1 – 2.5 ) รวมใช้เวลา 5 ชั่วโมง

สื่อ / อุปกรณ์
1. ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด
2. ดินสอสีไม้
3. หลักการ ทฤษฎี และตัวอย่าง การใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรงเป็นสื่อในการวาดภาพ
4. แบบฝึกทักษะชุดที่ 1 ( แบบฝึกที่ 2.1 – 2.5 )
5. แบบประเมินผลงานเรื่อง การใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรง

การประเมินผล
ประเมินผลงานการใช้ลักษณะรูปร่าง รูปทรงเป็นสื่อในการวาดภาพและระบายสีตาม
ความคิดสร้างสรรค์


โครงสร้างหรือขั้นตอนการใช้ (การนำนวัตกรรมไปใช้)
การนำนวัตกรรมไปใช้ จะนำแบบฝึกทักษะทางด้านศิลปะ ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาศิลปะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 104 คน โรงเรียนแก้วอินทร์สุธาอุทิศ ตำบลเสาธงหิน
อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

ข้อดี
1. นักเรียนเกิดความสนุกสนานและมีความแม่นยำในเรื่องที่ฝึก
2. เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
3. เกิดทักษะ กระบวนการคิดต่อเนื่อง
4. แบบฝึกเหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน
5. แบบฝึกทักษะมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าจะฝึกทักษะในด้านใด
6. สามารถประเมินแล้วแยกกลุ่มนักเรียนได้ชัดเจน
7. บรรยากาศในการเรียนการสอนดี ไม่ตึงเครียด
8. เหมาะสมกับเวลา
9. สามารถนำไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นได้

ข้อเสีย
1. ถูกจำกัดในด้านจินตนาการของนักเรียน
2. ถ้าแบบฝึกทักษะมีมากเกินไป ไม่เหมาะสมกับเวลา จะทำให้นักเรียนเกิดความเร่งรีบ
และ เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติการฝึกทักษะ
3. ทักษะ กระบวนการอยู่ในกรอบที่กำหนด
4. ส่งเสริมการลอกเลียนแบบ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคงยึดรูปแบบการสอนแบบ
บรรยาย การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียน
ให้อยู่ในขอบเขตจำกัด
- ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็นนามธรรมยากแก่การ
เข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วยปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน


เอกสารอ้างอิง

สมเดช สีแสง และคณะ. 2543.ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.

สัมพันธ์ เพชรสม และคณะ.2548. หนังสือเรียนวิชาศิลปะ ป.3. หน้า 7-9, พิมพ์ครั้งที่ 11.
บริษัท อักษรเจริญทัศน์.




























วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สร้างสรรค์ผลงาน


รูปทรง


รูปร่าง


รูปร่างแบบธรรมชาติ


ต่อเติมลักษณะรูปร่างแบบเรขาคณิต


ต่อเติมลักษณะรูปร่าง


ตัวอย่าง แบบฝึกทักษะ


ตัวอย่าง การใช้ลักษณะรูปร่าง


รูปร่างเรขาคณิต


ลักษณะรูปร่าง รูปทรง


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม


ข้อเสีย


ข้อดี


โครงสร้างหรือขั้นตอนการนำไปใช้


รูปทรงในงานศิลปะ


รูปทรง


ลักษณะรูปร่าง


รูปร่าง


วัตถุประสงค์


วัตถุประสงค์


มาตรา 6


ความเป็นมา (ต่อ)


ความเป็นมา


สร้างสรรค์งานศิลป์1


วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มะเร็งชีวิต

มะเร็งแห่งชีวิต


มะเร็งแห่งชีวิต เมื่อยิ่งคิดยิ่งน่ากลัว
คนเราหลงเมามัว จึงไม่กลัวบาปพิษภัย
มะเร็ง "สิ่งสพย์ติด" ฆ่าชีวิตทุกเพศวัย
ย้าบ้าสิ่งจัญไร สร้างเวรภัยไร้ปราณี
มะเร็ง"การพนัน" เล่นทุกวันเสื่อมราศี
ครอบครัวเศร้าโศกี มิตรไม่มีเมื่อหมดเงิน
มะเร็ง"หลงในกาม" ต้องติดตามไม่หมางเมิน
ความทุกข์มาก้ำเกิน ผู้ห่างเหินเมินครอบครัว
มะเร็ง"คือความโลภ" จิตละโมบทำความชั่ว
ปล้นจี้ไม่เกรงกลัว ใจหมองมัวลืมโทษทัณฑ์
มะเร็ง"คือความโกรธ" แสนเหี้ยมโหดโทษมหันต์
ทำลายทุกสิ่งอัน ไม่สุขสันต์ตลอดไป
มะเร็ง "คือความหลง" ถ้าดำรงในจิตใจ
ปัญญาไมอำไพ ไม่ก้าวไกลพัฒนา
ความรู้มีน้อยนิด ญาติมวลมิตรไม่ศรัทธา
ชีวิตไม่โสภา คนเมินหน้าลาจากจร
มะเร็ง"แห่งชีวิต" ควรพินิจจิตสังวร
ผู้เขียนขอไหว้วอน ด้วยอาวรณ์จากจริงใจ
ขอให้เพื่อนชายหญิง รู้ความจริงของพิษภัย
สมรักสมฤทัย ชีวิตไกลภัยมะเร็ง

(วิฑูรย์ ลิ้มประเสริฐ)

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ นางสุทธินันท์ สารพันธ์

เกิดวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2518
อายุ 35 ปี
ที่อยู่ 54/65 หมู่บ้านบางใหญ่ซิตี้
ซอย 9/6 A หมู่ 6
ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่
จังหวัดนนทบุรี 11140
สถานที่ทำงาน โรงเรียนแก้วอินทร์สุธาอุทิศ
ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่
จังหวัดนนทบุรี 11140
สอนวิชา ภาษาอังกฤษ ศิลปะ แนะแนว ลูกเสือ
ป.บัณฑิต (วิชาชีพครู) รุ่น 4 ไทยเข้มแข็ง